เช็คลิสต์ 9 เรื่องที่ไม่ควรมองข้ามในการทำสัญญาว่าจ้างกับผู้รับเหมา

top-view-frame-with-contract-wooden-judge-gavel

ความสำคัญของสัญญาระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมา

        การสร้างบ้านเอง นอกจากการเลือกผู้รับเหมาที่ดีแล้ว ก็ควรใส่ใจรายละเอียดยิบย่อยอย่างเช่นการเรื่องการทำสัญญาระหว่างกันอีกด้วย เพราะการสร้างบ้านเป็นโครงการระยะยาว เป็นสิ่งที่จะต้องสร้างมาแล้วแข็งแรงทนทาน สามารถอยู่กับคุณได้นานเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะฉะนั้นคุณควรเสียเวลานิดหน่อยเพื่อใส่ใจในรายละเอียดปลีกย่อยพวกนี้ เพื่อแลกมากับบ้านที่จะแข็งแรงไปอีกเป็นสิบปี หรือติดต่อช่างรับเหมาอุดร หรือรับเหมาทั้งภาคอีสานอย่างเรา เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่คุณก็ได้ นอกจากนี้การทำสัญญายังเป็นการรักษาผลประโยชน์ของทั้งผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาเอง รวมถึงยังสามารถใช้ในการดำเนินคดีทางกฎหมายได้อีกด้วย

เช็คลิสต์ 9 เรื่องที่ไม่ควรมองข้ามในการทำสัญญาว่าจ้างกับผู้รับเหมา

ในการเซ็นสัญญาระหว่างผู้ว่าจ้างกับผู้รับเหมา ควรจะมีรายละเอียดอะไรบ้าง วันนี้เราจะยกเรื่องสำคัญที่ควรมีในเอกสารว่าจ้างที่จะต้องเซ็นกันมาแนะนำ แม้ว่าจะมีรายละเอียดยิบย่อย แต่หากเข้าใจแล้วก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

  1. วัตถุประสงค์ของสัญญา
            อย่างแรกคือ กล่าวถึงวัตุประสงค์ในการเขียนสัญญาฉบับนี้ขึ้นมาก่อน ว่าเขียนเพื่ออะไร เป็นสัญญาระหว่างใครกับใคร หากเป็นสัญญาในการสร้างบ้าน ก็ควรระบุถึงรายละเอียดของสิ่งก่อสร้างด้วยว่าเป็นบ้านแบบไหน เช่น บ้านเดี่ยว, บ้านแฝด, ทาวเฮาส์, อาคารพาณิชย์ เป็นต้น สิ่งก่อสร้างมีลักษณะอย่างไร มีกี่ชั้น พื้นที่เท่าไหร่ สร้างบนโฉนดที่ดินเลขที่ใด สร้างที่ตำบล อำเภอ จังหวัดใด ควรใส่ข้อมูลเหล่านี้ให้ละเอียดที่สุด เพื่อให้สัญญาฉบับนี้มีความน่าเชื่อถือ และรัดกุมที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
  2. ข้อมูลส่วนบุคคลระหว่างผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมา
            เพื่อความน่าเชื่อถือ และการร่วมงานกันได้อย่างสบายใจว่าจะไม่มีฝ่ายใดถูกเอาเปรียบ ควรจะมอบเอกสารที่มีข้อมูลส่วนตัวทั้งสองฝ่าย อย่างเช่น สำเนาบัตรประชาชนไว้ให้แก่กัน เพื่อเป็นสิ่งที่ใช้ในการดำเนินคดีได้ในอนาคตหากมีการทำผิดสัญญาที่ระบุเอาไว้
  3. ขอบเขตของงาน
            ควรระบุขอบเขตของงานให้ชัดเจนว่าต้องทำแค่ไหน และควรระบุลักษณะของเนื้องานที่ให้ด้วย เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน และเป็นหลักฐานชี้ในอนาคตหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นในเนื้องาน อีกทั้งยังเพื่อความเป็นธรรมทั้งแก่ผู้ว่าจ้างเอง และผู้รับเหมาอีกด้วย
  4. อัตราค่าจ้าง
            เป็นเรื่องสำคัญที่ควรระบุไว้ในสัญญาอย่างยิ่งว่าผู้ว่าจ้างจะให้ค่าแรงแก่ผู้รับเหมาเท่าไหร่ จ่ายเงินค่างวด งวดละกี่วัน จะจ่ายโดยลักษณะใด เพื่อเป็นการการันตีให้แก่ผู้รับเหมาว่าผู้รับจ้างจะไม่เบี้ยวค่าแรงนั่นเอง

  5. ระยะเวลาในการดำเนินงาน
            เมื่อมีการรักษาสิทธิ์ให้แก่ผู้รับเหมาแล้ว ก็จะต้องมีข้อสัญญาที่ระบุว่าผู้รับเหมาจะทำงานให้แก่ผู้ว่าจ้างให้แล้วเสร็จภายในกี่วัน เพื่อเป็นการการันตีให้แก่ผู้ว่าจ้างเช่นกันว่างานที่ผุ้ว่าจ้างจ้างนั้นจะสามารถทำให้แล้วเสร็จได้จริง ๆ
  6. ราคาวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง
            หากผู้รับเหมาเป็นคนเลือกวัสดุให้แก่ผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมาจะต้องแจกแจงให้ผู้ว่าจ้างรับรู้ถึงค่าใช้จ่ายในการเลือกซื้อวัสดุ เพื่อเป็นการยืนยันว่าผู้รับเหมาจะไม่คดโกงในการโก่งราคากับผู้ว่าจ้าง จึงจะต้องมีการระบุในสัญญาว่าจ้างเอาไว้ด้วย เพื่อเป็นหลักฐานในอนาคตหากผู้รับเหมาซื้อวัสดุในราคาที่ไม่ได้ตกลงกันไว้
  7. การรับประกันงาน
            ผู้รับเหมาที่ดีควรมีการรับประกันงานหลังจากการสร้างเสร็จให้แก่ผู้ว่าจ้างด้วย เพื่อผู้รับเหมาบางเจ้าก็ฝีมือไม่ดี สร้างขึ้นมาไม่แข็งแรง หากจบงานแล้วไม่มีการรับประกัน อาจจะเป็นปัญหาให้แก่ผู้ว่าจ้างได้ แล้วทีนี้ผู้ว่าจ้างก็ต้องคอยมาตามแก้งานจากผู้รับเหมาที่ไม่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นผู้ว่าจ้างควรเลือกผู้รับเหมาที่ยินดีจะรับประกันผลงานให้แก่ผู้ว่าจ้างสักระยะหนึ่ง
  8. การยกเลิกสัญญา และการชดเชยค่าเสียหาย
            ข้อนี้ก็เป็นอีกหนึ่งข้อที่สำคัญ ในสัญญาควรระบุไว้ว่าสิ่งใดบ้างที่หากผู้ว่าจ้าง หรือผู้รับเหมาปฏิบัติจะถือเป็นการยกเลิกสัญญา อาจจะเป็นการจ่ายค่างวดให้แก่ผู้รับเหมาไม่ตรงเวลา ผู้รับเหมามีสิทธิที่จะยกเลิกสัญญาได้ หรือการทำงานได้ไม่ตรงเวลา ผู้ว่าจ้างมีสิทธิยกเลิกสัญญาได้ ซึ่งในแต่ละกรณีก็อาจจะมีการให้อีกฝ่ายที่ทำผิดสัญญาจะต้องชดเชยค่าเสียหายให้แก่อีกฝ่าย ในกรณีเช่นนี้ ผู้ว่าจ้างและผู้รับเหมาควรจะตกลงกัน และระบุเป็นลายลักษณ์อักษรให้ชัดเจนกันตั้งแต่ก่อนเริ่มงานจะเป็นการดีที่สุด
  9. ข้อตกลงเบ็ดเตล็ด
            อาจจะเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึง แต่ควรระบุข้อตกลงบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดความเข้าใจผิดซึ่งกันและกันลงไปด้วย เช่น การระบุว่าการจ้างผู้รับเหมานี้ ไม่ใช่เป็นการให้สิทธิผู้รับเหมามีสิทธิในที่ดิน หรือมีความสัมพันธ์ในการเป็นหุ้นส่วนแต่อย่างไร หรือ ระบุว่าผู้ว่าจ้างจะไม่มีสิทธิครอบครองบ้านหลังนั้น จนกว่าผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินให้แก่ผู้รับเหมา เป็นต้น

        ในการสัญญาแล้ว โดยพื้นฐานจะต้องมีผู้เซ็นคือ ผู้ว่าจ้าง ผู้รับเหมา และพยานอย่างน้อย 1 คน หรือจะได้ดีก็ควรมีพยานสัก 2 คน เพียงเท่านี้สัญญาฉบับนี้ก็จะสามารถใช้เป็นหลักฐาน และมีผลทางกฎหมายได้แล้ว เพื่อรักษาประโยชน์ทั้งแก่ผู้ว่าจ้าง และผู้รับเหมาเอง เราจึงแนะนำว่าทั้งสองฝ่ายไม่ควรมองข้ามเรื่องยิบย่อยเหล่านี้ ทำเรื่องยากให้เป็นเรื่องง่ายโดยติดต่อเราให้เป็นผู้ช่วยในการสร้างบ้านให้แก่คุณ เราไม่ได้เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างอุดรเพียงเท่านั้น แต่เราพร้อมให้บริการคุณทั่วทั้งภาคอีสานเลย

Join The Discussion

Compare listings

Compare
Search
Price Range From To